วัดบางแวกแต่เดิมชื่อว่า วัดบางแหวก เหตุที่ชื่อนี้เพราะว่าสมัยก่อนนิยมการสัญจรทางน้ำจะเข้าคลองบางแวกได้ก็ต้องแหวกผักตบชวา กอบัว จอก แหน สาหร่าย เพราะมีมากจนปิดทางสัญจรไปมา วัดริมคลองบางแวกเป็นน้ำสาขาคลองชักพระแล้วไหลลงแม่น้ำเจ้าพระยาเดิม (คลองบางกอกน้อย)
วัดบางแวกยังมีบทบาทสำคัญทางด้านการศึกษา ทั้งนี้ได้เปิดทำการสอนพระปริยัติธรรมมาตั้งแต่พ.ศ.2485 มาจนถึงปัจจุบันรวมทั้งให้สถานที่สร้างโรงเรียนพณิชยการธนบุรี เมื่อ พ.ศ. 2500 บัดนี้ได้เปลี่ยนเป็นวิทยาลัยพณิชยการธนบุรี
หลวงพ่อพระมหาระมัด โชติปาโล อดีตเจ้าอาวาสวัดบางแวก ท่านได้เล็งเห็นคุณประโยชน์ และความสำคัญของการศึกษาโดยการเอาส่วนที่เป็นป่าช้าเก่าของทางวัดบางแวก แทนที่จะสร้างเมรุท่านเห็นว่าการสร้างเมรุนั้นได้แต่เผาคน แต่ควรจะเอาที่มาใช้ประโยชน์อื่น ๆ ดีกว่า ก็เลยเอาที่มาสร้างคน คือให้การศึกษา ให้ความรู้ โดยแบ่งที่ดินวัดให้ไป 12 ไร่ 3 งาน 1 ตารางวา รื้อกุฏิพระออกและได้ไปเทศนายังที่ต่าง ๆ แล้วน้ำปัจจัยมาสร้างอาคารโรงเรียนได้ 2 หลัง จึงมอบให้กระทรวงศึกษาธิการดำเนินงานจนกลายเป็นวิทยาลัยพณิชยการธนบุรี ที่เห็นในปัจจุบันนี้และทางวิทยาลัยพณิชยการธนบุรีก็ได้จัดให้มีการบูชาคุณของหลวงพ่อพระมหาระมัด โชติปาโล และวัดโดยการจัดให้มีการทอดกฐินที่วัดบางแวกเป็นประจำทุกปี จนบูรณะวัดบางแวกได้อย่างที่เห็นมาทุกวันนี้ ปูชนียวัตถุและถาวรวัตถุต่าง ๆ
ความสวยงามของอุโบสถวัดบางแวก เป็นสถาปัตยกรรมแบบทรงไทยกว้าง 8 เมตร ยาว 22 เมตร หลังคาลด 3 ชั้น หน้าบันเป็นไม้สักแกะเป็นลายนารายณ์ทรงครุฑประดับกระจกลงลักปิดทองทั้ง 2 ด้าน (ด้านหน้า และ ด้านหลัง) ซุ้มประตู 4 ซุ้ม หน้าต่าง 10 ซุ้ม ปิดกระจกลงลักปิดทองทั้งหมด หลังคามุงด้วยกระเบื้องเคลือบ กำแพงแก้ว 3 ด้าน (ด้านทิศเหนือ ทิศตะวันออกและทิศใต้) สูง 12.50 เมตร ยาว 112 เมตร ประตูกำแพงแก้วด้านหน้าอุโบสถสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก หลังคา 3 มุข ประดับด้วยช่อฟ้า ใบระกา หลังคามุด้วยกระเบื้องเคลือบสี
ภายในพระอุโบสถประดิษฐานพระประธานปางมารวิชัยเนื้อโลหะสำริด ปางเชียงแสนสิงห์ ลงรักปิดทอง (สร้าง พ.ศ.2517) หน้าตักกว้าง 69 นิ้ว ส่วนสูง 187 นิ้ว พร้อมพระโมคคัลลานะและพระสารีบุตร ปางยืนประนมมือ กว้าง 14 นิ้ว สูง 59 นิ้ว ด้านหลังอุโบสถสร้างเป็นวิหารสลักสกัด ลักษณะแบบทรงไทยประยุกต์ชั้นเดียว คอนกรีตเสริมเหล็กกว้าง9เมตรยาว22.50เมตรเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางต่างๆ
1. พระพุทธรูปพระนาคปรกศิลาแลงปางสมาธิสมัยลพบุรีหน้าตักกว้าง 33 นิ้วส่วนสูง 44 นิ้ว
2. พระพุทธรูปพระปางสมาธิ ศิลาแลงปิดทองสมัยอยุธยา หน้าตักกว้าง 72 นิ้ว ส่วนสูง 101 นิ้ว ได้ทำการซ่อมแซมส่วนที่แตกหักจึงทำให้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
3. พระพุทธรูปโลหะเนื้อสำริด ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 26 นิ้ว ส่วนสูง 35 นิ้ว
4. พระพุทธรูปพระประธานปางมารวิชัยปูนปั้น สมัยอยุธยา หน้าตักกว้าง 58 นิ้ว ส่วนสูง 87 นิ้ว (เคยเป็นพระประธานในอุโบสถหลังเก่ามีการสร้างสมัยอยุธยาตอนปลาย)
5. พระประธานปางมารวิชัย โลหะสำริดลงลักปิดทองสมัยรัตนโกสินทร์ พระเกศถอดได้ หน้าตักกว้าง 21 นิ้ว ส่วนสูง 43 นิ้ว (เคยเป็นพระประธานประจำศาลาการเปรียญ)
ศาลาการเปรียญ เป็นสถาปัตยกรรมแบบทรงไทยกว้าง 10.77 เมตร ยาว 17.75 เมตร หลังคาลด 2 ชั้น หน้าบันเป็นลายแกะสลักทั้งด้านหน้าและด้านหลัง มีประตูเข้าออก 4 บาน ฝามีบานหน้าต่าง 32 บาน พื้นไม้สักทอง ด้านบนมีรูปภาพจิตรกรรมฝาผนังทศชาติ เป็นฝีมือช่างสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ภายในมีบุษบกสูง 12 เมตร ซึ่งกรมศิลปากรได้อนุรักษ์ไว้เป็นสมบัติของชาติ กุฏิสงฆ์เอนกประสงค์ 1 หลัง เป็นสถาปัตยกรรมแบบทรงไทยประยุกต์ 2 ชั้น คอนกรีตเสริมเหล็ก กว้าง 1.6 เมตร ยาว 18 เมตร 2 ชั้น (ด้านบนเป็นห้องพักสงฆ์ ด้านล่างเป็นที่สอนหนังสือ และที่ฉันภัตตาหาร อีกทั้งเป็นที่บำเพ็ญกุศลต่าง ๆ กุฏิสงฆ์ 4 หลังเป็นสถาปัตยกรรมแบบทรงไทยประยุกต์ 2 ชั้น คอนกรีตเสริมเหล็กกว้าง 6.50 เมตร ยาว 9 เมตร
หอระฆังหอกลองธูปทอง เป็นสถาปัตยกรรมแบบทรงไทยปีระยุกต์ 2 ชั้น คอนกรีตเสริมเหล็ก เป็นลวดลายทรงประยุกต์กว้าง20เมตรยาว30เมตร-ลำดับเจ้าอาวาสนับตั้งแต่เริ่มสร้างวัดบางแวก ประมาณกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย จนถึง พ.ศ.2551 ประมาณ 266 ปี วัดบางแวกมีเจ้าอาวาสปกครองวัดที่ปรากฎนามประมาณ 7 รูปคือ
1.พระอธิการสมใจ(ไม่ทราบประวัติ)
2.พระอธิการทรง(ไม่ทราบประวัติ)
3.พระมหาหนู(ไม่ทราบประวัติ)
4. พระมหาระมัด โชติปาโล เป็นชาวจังหวัดอ่างทอง เกิดเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2459 ท่านอุปสมบทอยู่วัดราชโอรสาราม ต่อมาท่านสอบได้เปรียญธรรม 4 ประโยค อีกเป็นครูสอนพระปริยัติธรรมประจำสำนักเรียน ต่อมาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดบางแวก ย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่วัดบางแวก ท่านเป็นพระธรรมกถึกเอกเทศนาโวหารอีกทั้งเทศนามหาชาติอบรมประชาชน เป็นเจ้าคณะแขวงคูหาสวรรค์ เขต 2 จัดระเบียบการปกครองคณะภายในแขวงและวัดที่ปกครองอยู่ เป็นพระนักพัฒนาตัวอย่างได้สร้างโรงเรียนมาตั้งแต่พ.ศ.2485 จนถึงพ.ศ.2536
5. พระครูโสภณธีรธรรม (เสนาะ ธมฺมรกฺขิโต) เป็นชาวจังหวัดอ่างทอง ปกครองวัดมาตั้งแต่ พ.ศ.2536 จนถึง 19กันยายนพ.ศ.2547
6. พระธรรมศีลาจารย์ เป็นชาวจังหวัดกรุงเทพมหานคร ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะเขตภาษีเจริญ และได้มาเป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดบางแวก ตั้งแต่ 19 กันยายน พ.ศ.2547 จนถึง 9 กรกฎาคม พ.ศ.2548
7. พระครูธีรธรรมานันท์ (ญาณกฤษฏิ์ ตั้งใจพัฒนากุล) เป็นชาววัดบางแวก จังหวัดกรุงเทพมหานคร ปกครองวัดบางแวกตั้งแต่วันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ.2548 จนถึงปัจจุบัน วัดบางแวกขณะนี้มีพระภิกษุจำพรรษา 10 รูป ศิษย์วัด 2 คน
วัดบางแวกอยู่ชิดติดคลองบางแวก มีทัศนียภาพสวยงามและยังมีภาพวาดบนแนวกำแพงสวยงามพร้อมด้วยสุภาษิตที่ควรค่าแก่การจดจำ ในวันหยุดนักขัตฤกษ์เหมาะสมยิ่งที่ครอบครัวจะเข้ามาไหว้พระทำจิตใจให้เป็นสุข เมื่อออกจากวัดแล้วก็มีร้านอาหารก๋วยเตี๋ยว ร้านกาแฟเจ้าเก่าริมคลอง และยังมีตลาดเล็กๆ จำหน่ายผักผลไม้น่ารับประทานให้จับจ่ายใช้สอยกลับบ้านในบรรยากาศริมน้ำบางแวก
ความศักดิ์สิทธิ์หลวงพ่อเสือ
มีเรื่องเล่าสู่กันฟังถึงความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อเสือว่าครั้งหนึ่งพลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ หรือ เสด็จในกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ที่คนไทยเชื้อสายจีนเรียกว่า"เสด็จเตี่ย"ได้ชลมารคผ่านมาทางคลองวัดบางแวก พอมาถึงหน้าวัดเรือพระที่นั่งก็เกิดอุปสรรค ไม่สามารถไปต่อได้จึงเสด็จขึ้นมาชมบริเวณรอบๆวัดบางแวก เข้าไปกราบพระในพระวิหาร เห็นพระพุทธรูปองค์หนึ่ง ดำไม่สุกใสเหมือนองค์อื่นๆ ต่อมาจึงได้สั่งให้ทำพิธีเททองทับก็ไม่สุกดังตั้งใจ จึงสั่งให้เททองทับอีก 2 ครั้ง ก็ไม่สุกใสอีก ทรงขนานนามพระพุทธรูปองค์นี้ว่า "พระพุทธรูปหลวงพ่อเสือ"
4. พระมหาระมัด โชติปาโล เป็นชาวจังหวัดอ่างทอง เกิดเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2459 ท่านอุปสมบทอยู่วัดราชโอรสาราม ต่อมาท่านสอบได้เปรียญธรรม 4 ประโยค อีกเป็นครูสอนพระปริยัติธรรมประจำสำนักเรียน ต่อมาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดบางแวก ย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่วัดบางแวก ท่านเป็นพระธรรมกถึกเอกเทศนาโวหารอีกทั้งเทศนามหาชาติอบรมประชาชน เป็นเจ้าคณะแขวงคูหาสวรรค์ เขต 2 จัดระเบียบการปกครองคณะภายในแขวงและวัดที่ปกครองอยู่ เป็นพระนักพัฒนาตัวอย่างได้สร้างโรงเรียนมาตั้งแต่พ.ศ.2485 จนถึงพ.ศ.2536
5. พระครูโสภณธีรธรรม (เสนาะ ธมฺมรกฺขิโต) เป็นชาวจังหวัดอ่างทอง ปกครองวัดมาตั้งแต่ พ.ศ.2536 จนถึง 19กันยายนพ.ศ.2547
6. พระธรรมศีลาจารย์ เป็นชาวจังหวัดกรุงเทพมหานคร ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะเขตภาษีเจริญ และได้มาเป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดบางแวก ตั้งแต่ 19 กันยายน พ.ศ.2547 จนถึง 9 กรกฎาคม พ.ศ.2548
7. พระครูธีรธรรมานันท์ (ญาณกฤษฏิ์ ตั้งใจพัฒนากุล) เป็นชาววัดบางแวก จังหวัดกรุงเทพมหานคร ปกครองวัดบางแวกตั้งแต่วันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ.2548 จนถึงปัจจุบัน วัดบางแวกขณะนี้มีพระภิกษุจำพรรษา 10 รูป ศิษย์วัด 2 คน
วัดบางแวกอยู่ชิดติดคลองบางแวก มีทัศนียภาพสวยงามและยังมีภาพวาดบนแนวกำแพงสวยงามพร้อมด้วยสุภาษิตที่ควรค่าแก่การจดจำ ในวันหยุดนักขัตฤกษ์เหมาะสมยิ่งที่ครอบครัวจะเข้ามาไหว้พระทำจิตใจให้เป็นสุข เมื่อออกจากวัดแล้วก็มีร้านอาหารก๋วยเตี๋ยว ร้านกาแฟเจ้าเก่าริมคลอง และยังมีตลาดเล็กๆ จำหน่ายผักผลไม้น่ารับประทานให้จับจ่ายใช้สอยกลับบ้านในบรรยากาศริมน้ำบางแวก
ความศักดิ์สิทธิ์หลวงพ่อเสือ
มีเรื่องเล่าสู่กันฟังถึงความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อเสือว่าครั้งหนึ่งพลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ หรือ เสด็จในกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ที่คนไทยเชื้อสายจีนเรียกว่า"เสด็จเตี่ย"ได้ชลมารคผ่านมาทางคลองวัดบางแวก พอมาถึงหน้าวัดเรือพระที่นั่งก็เกิดอุปสรรค ไม่สามารถไปต่อได้จึงเสด็จขึ้นมาชมบริเวณรอบๆวัดบางแวก เข้าไปกราบพระในพระวิหาร เห็นพระพุทธรูปองค์หนึ่ง ดำไม่สุกใสเหมือนองค์อื่นๆ ต่อมาจึงได้สั่งให้ทำพิธีเททองทับก็ไม่สุกดังตั้งใจ จึงสั่งให้เททองทับอีก 2 ครั้ง ก็ไม่สุกใสอีก ทรงขนานนามพระพุทธรูปองค์นี้ว่า "พระพุทธรูปหลวงพ่อเสือ"
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น